1. การเพิ่มขึ้นของแรงดันโหลด ( Load Pressure ) ที่ทางออกของช่องแคบ( Orifice) จะเพิ่มความดันด้านทางออกด้วยเช่นกันและถ้าความดันขาเข้ามีค่าเท่าเดิมที่วาล์วปลดความดัน(Relief Valve) ผลที่เกิดคือความดันตกคร่อมที่ช่องแคบ(Orifice) จะลดลงเช่นกันจะทำให้ตัวทำงาน(Hydraulic Cylinder & Hydraulic Motor) มีความเร็วช้าลง เมื่อมีความดันโหลด(Load Pressure)เพิ่มขึ้น
2. การเพิ่มความดันด้านขาเข้า โดยการปรับค่าความดันที่วาลล์วปลดความดัน(Relief Valve) ให้สูงขึ้นจะมีผลให้ความดันตกคร่อมที่ช่องแคบ(Orifice) มีค่าเพิ่มขี้นสมมุติว่าแรงดันโหลด(Load Pressure) ที่ด้านขาออกมีค่าคงที่นั่นคือความดันยังคงมีค่าเท่าเดิมผลที่เกิดคือตัวทำงาน(Hydraulic cylinder & Hydraulic Motor)จะมีความเร็วเพิ่มขึ้น
3. ถ้าเราเปิดและปิดช่องแคบ(Orifice) ให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็จะเป็นการเปลี่ยนความต้านทานต่อการไหล หมายความว่าที่ความต้านทานการไหลลดลง ความดันตกคร่อม(Pressure drop) ก็ลดลง อัตราการไหลที่ผ่านช่องแคบ(Orifice) ก็จะลดลงตามที่เราต้องการด้วย
4. อุณหภูมิมีผลต่อความหนืดของของไหล(Hydraulic oil) และความต้านทานต่อการไหล ตามที่เราทราบกันว่าน้ำมันที่ร้อนจะมีความหนืดน้อยกว่าน้ำมันที่เย็น น้ำมันที่ร้อนจะไหลผ่านช่องแคบ(Orifice) ได้มากกว่าน้ำมันที่เย็น นั่นคือเหตุผลที่ในเมืองหนาวระบบไฮดรอลิคจึงจำเป็นต้องมีตัวทำความร้อน(Heater) เพราะในช่วงเช้าอุณหภูมิจะค่อนข้างต่ำ ตัวทำงาน(Hydraulic Cylinder & Hydraulic Motor) จะไม่สามารถทำความเร็วได้เต็มประสิทธิภาพเหมือนเวลาปรกติ