Logic Element (Part I)
ท่านทราบหรือไม่ว่า LOGIC ELEMENT มีข้อดีอย่างไร ?.
• สามารถทำเป็นวาล์วได้หลายฟังก์ชั่น ในวงจรระบบไฮดรอลิคเช่นวาล์วควบคุมความดัน, วาล์วควบคุมอัตราการไหล, วาล์วควบคุมทิศทาง
• ขนาดกะทัดรัด แต่ผ่านอัตราการไหลน้ำมันได้สูงมาก ถึง 2,000 ลิตรต่อนาทีเหมาะจะใช้กับ กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิคขนาดใหญ่
• ทนความดันได้สูงถึง 420 bar โครงสร้างแบบป๊อปเปทสามารถป้องกันการรั่วได้ดีมาก ทนต่อสิ่งสกปรกได้ดีการสึกหรอน้อย ทำให้อายุการใช้งานยาวนาน
เราลองมาดูโครงสร้างของ Logic Element กันดีกว่าครับ
จากภาพที่ 1 ลอจิกอีลีเม้นท์ มีโครงสร้างเป็นวาล์วแบบป๊อปเปท เป็นแบบไส้ฝัง (Slip-in Cartridge Valve) อยู่ในก้อนบล๊อค (Manifold Block) ส่วนประกอบมี 4 ชิ้นส่วน คือ บูช, ป๊อปเปท, สปริง และฝาครอบ ตำแหน่งปกติลูกป๊อปเปทจะนั่งบ่าด้านในของบูชด้วยแรงกดจากสปริง เมื่อมีความดันที่ช่องน้ำมัน x, A และ B มากระทำกับแต่ละพื้นที่ AA, AB, AX จะทำให้ลูกป๊อปเปทเปิดสุด, ปิดสุด หรือ เปิด-ปิด ต่อเนื่องตามฟังก์ชั่น ของวาล์ว โดยกำหนดให้
A1 (AA) พื้นที่ด้านล่างลูกป็อปเปท (Nose of the Poppet) เป็น 100%
A2(AB) พื้นที่วงแหวน (Ring Area) เป็น 7% หรือ 50% ของพื้นที่ A1 (ขึ้นกับการนำ logic element ไปทำฟังก์ชั่นต่างๆ)
A3(AX) พื้นที่เต็มด้านบนลูกป๊อปเปท เป็น 107% หรือ 150%
พื้นที่วงแหวนที่แตกต่างกัน จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไร ?
จากตารางที่ 1 จะแสดงพื้นที่ของลอจิกอีลีเม้นท์ “REXROTH” Logic Element Size 25 แบบอัตราส่วน 2:1 กับแบบอัตราส่วน 14.3:1 จะมีจุดสัมผัสของหน้าป๊อปเปทแตกต่างกัน ดังภาพที่ 2
Logic element อัตราส่วนพื้นที่ 2:1 น้ำมันสามารถไหลได้ทั้งสองทิศทาง คือ A=>B หรือ B=>A ก็ได้ ดังภาพที่ 3
Logic element อัตราส่วนพื้นที่ 14.3:1 น้ำมันสามารถไหลได้ทิศทางเดียว คือ A=>B เท่านั้น ดังภาพที่ 4
จะเลือกค่าค่าความแข็งสปริงได้อย่างไร ?
การเลือกค่าความแข็งสปริงจะมีผลต่อการความเร็วในการปิด ซึ่งสปริงแข็ง => การปิดจะเร็ว แต่หากสปริงอ่อน => การปิดจะช้า สำหรับ Logic Element ของ Rexroth จะมีค่าความแข็งให้เลือก คือ 0.0, 0.5, 1.0, 2.0, 3.0, 4.0 bar
แผนก Hydraulic
Email : sales.hyd@pneumax.co.th
โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 575, 710
ติดต่อสอบถาม
To reset your password, enter the email address you use to sign in to form