GEAR PUMP
ส่วนประกอบภายในเกียร์ปั๊ม
(1) Retaining Ring
(2) Shaft Seal
(3) Front Cover
(4) Plain Bearing
(5) Centering Pin(6) Gear
(7) Gear (frictional)
(8) Housing Seal
(9) Pump Housing
(10) Bearing
(11) Axial Zone Seal
(12) Support
(13) End Cover
(14) Fastening Screws
หลักการทำงาน การดูดและการส่งของปั๊มอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงปริมาตร จากรูป ในจังหวะดูด เพลาขับทวนตามเข็มนาฬิกา และพาให้เพลาตามหมุนตามเข็มนาฬิกา ทำให้ปริมาตรในห้องดูดเพิ่มขึ้นความดันลดลง น้ำมันถูกเติมเข้ามาในร่องเฟือง เมื่อเพลาขับหมุนต่อไปอีก น้ำมันจะถูกขังอยู่ระหว่างร่องเฟืองและตัวเรือน โดยอาศัยยอดเฟือง (gear tip) เป็นตัวซีล และเมื่อเพลาขับหมุนต่อไปอีกในจังหวะส่งเพลาขับและเพลาตามขบกันทำปริมาตรลดลงและความดันเพิ่มขึ้น น้ำมันถูกส่งออกไปสู่ระบบได้
ภายในปั๊ม แผ่นประกบ (Bearing block) ทางด้านดูดจะมีช่องทางที่น้ำมันสามารถที่จะไหลเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของปั๊มเพื่อเป็นการหล่อลื่นที่ความดันต่ำ เช่น ซีลคอเพลา, จุดสัมผัสต่างๆ ของชิ้นส่วนภายใน (เส้นสีฟ้าในรูป) และในจังหวะส่ง น้ำมันจะถูกส่งจากท่อทางส่งของปั๊มผ่านช่องทางที่แผ่นประกบทางด้านส่งไปยังด้านหลังของ Bearing block (เส้นสีแดงในรูป) เพื่อที่จะบีบให้ตัวเฟือง และ แผ่นประกบ ชิดกันมากขึ้นในขณะที่ความดันในระบบสูงขึ้น
ข้อดี และ ข้อเสีย ของ GEAR PUMP
ข้อดี
- ความดันใช้งานได้ค่อนข้างสูง
- ราคาถูก
- ช่วงของความเร็วรอบเปิดกว้าง
- ช่วงของอุณหภูมิ และ ความหนืด เปิดกว้าง
ข้อเสีย
- เสียงดัง การจ่ายน้ำมันเป็นห้วงๆ
- Bearing รับแรงเพียงด้านเดียว
- ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรต่ำเมื่อเทียบกับปั๊มชนิดอื่น
ปัจจัยในการเลือก Gear Pump (ปั้มเฟือง)
1. ปริมาตรของปั้ม มีหน่วย cc/rev (ปริมาตรยิ่งมากจะทำให้กระบอกหรือมอเตอร์ไฮดรอลิคยิ่งเคลื่อนที่เร็ว)
2. ความดันสูงสุดที่ปั้มทนได้ มีหน่วย Bar (ความดันยิ่งมาก จะทำให้กระบอกหรือมอเตอร์ไฮดรอลิคยิ่งมีแรง)
3. ขนาดและตำแหน่งติดตั้งปั้ม(ขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดตั้ง)
4. ทิศทางการหมุนของปั้ม(เอาเพลาปั้มชี้เข้าหาตัว หมุนทวนเข็มหรือตามเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง)
ข้อควรปฏิบัติก่อนที่จะสตาร์ท Gear Pump
ตรวจเช็คสภาพโดยรวมภายนอกให้เรียบร้อยก่อนสตาร์ทปั๊ม เช่น ท่อทางน้ำมัน เข้า ออก
ตรวจเช็คทิศทางการหมุนของปั๊มให้ถูกต้อง
ในการประกอบเพลาขับของปั๊มเข้ากับยอยด์จะต้องหลีกเลี่ยงการตอก
การประกอบยอยด์ต้องมีระยะรุนตามที่กำหนดเพื่อป้องกันแรงตามแนวแกนที่เกิดขึ้น
Vacuum ในท่อดูดต้องไม่ต่ำกว่า 0.7 bar abs. และไม่สูงกว่า 3 bar abs. ความหนืดที่เหมาะสม 10-300 mm2
การติดตั้งปั๊มกับชุดต้นกำลัง
การติดตั้งปั๊มในแนวดิ่ง
การติดตั้งปั๊มในแนวนอน
การติดตั้งปั๊มโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบหน้าแปลน ประกอบกับ Bell Housing และจุ่มปั๊มลงในถังน้ำมันไฮโดรลิก ข้อดี จะช่วยลดเสียงดังของปั๊ม และ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดของปั๊ม
การติดตั้งโดยใช้มอเตอร์ไฟฟฟ้าแบบขาตั้งพร้อมหน้าแปลน ประกอบกับ Bell Housing
ถ้าปั๊มติดอยู่นอกถังน้ำมันให้ติดตั้งตามรูป และต้องหลีกเลี่ยงการติดตั้งท่อไหลกลับใกล้กับท่อดูด
แผนก Hydraulic
Email : sales.hyd@pneumax.co.th
โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 575, 710
ติดต่อสอบถาม
To reset your password, enter the email address you use to sign in to form