Automatic Drain
เราจะสูญเสียลมมากเท่าไหร่ เมื่อใช้ Timer drain เป็นตัวระบายน้ำทิ้ง
ในปัจจุบัน เนื่องจากปริมาณน้ำในระบบลมอัดที่ควบแน่นออกมามีปริมาณที่ไม่แน่นอนตลอดเวลา ดังนั้นในการตั้งเวลาที่คงที่ของ Timer drain จึงเป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียลมอัดเสมอ เรามาดูอัตราการสูญเสียลมอัด (7 bar) ที่รูระบายน้ำขนาดต่างๆ ตามตารางด้านล่างนี้
• Timer drain ขนาด 1/2" จะมีรูระบายน้ำภายในขนาด 4 mm. และจะมีการสูญเสียลมที่ปริมาณ 1.19 m3/min. ที่ความดันลม 7 bar
• ถ้าโรงงานทำงาน 24 ชม. ตลอดปี จะมีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 8,760 Hrs/year
• การตั้งเวลาทำงานของ Timer drain ปกติจะตั้งเวลาการทำงานไว้ว่า เปิดระบายน้ำ 5 วินาที ปิด 3 นาที
• อัตราการสูญเสียลมอัด จะเป็นดังนี้
ให้เป็นน้ำ 30% เป็นลมอัด 70% ต่อการระบายน้ำในแต่ละครั้ง
1.19 x 60 x (5/180) x 70% x 8760 = 12,161.80 m3/year
• ปริมาณลมอัด 1.2 m3 ต้องใช้ปั๊มลมขนาด 7.5 kW หรือ 10 Hp ในการผลิต(ISO1217)
ดังนั้น ลมอัดที่สูญเสียไป 12,161.80 m3 จะต้องใช้ปั๊มลม
12,161.80 x 7.5/1.2 = 76,011.25 kW
• การคิดเป็นค่าไฟที่ต้องเสียต่อปี มีสองแบบ แบบแรกคิดโดย
3 Bt./kW-hr = 76,000 x 3 = 228,000 Bt./Year
การคิดอีกแบบ คือ ลมอัดที่สูญเสียจากรูระบายน้ำ 4 mm.
คิดที่ 70% ได้เป็น 1.19 x 70% x (5/180) = 0.0231 m3/min
คิดเป็นพลังงานของปั๊มลมได้ประมาณ (0.0231x7.5/1.2 = 0.144375 kW)
นำมาคิดค่าไฟได้ดังนี้ 0.144375 x 60 x 8760 x 3 = 227,650 Bt.
• จะเห็นว่า ถ้าเราเลือกใช้ ออโต้เมติเดรนแบบ ที่ไม่สูญเสียลม จะสามารถประหยัด ค่าไฟฟ้าได้อย่างมหาศาล ปีละ 227,000 บาทเป็นอย่างน้อย
• กรณีนี้ ถ้าเลือกใช้ Super trap “ST200” ก็สามารถคืนทุนได้ภายใน 1.4 เดือน
Application
• ไม่สูญเสียลมขณะระบายน้ำ ระบายน้ำได้มากและไม่ตันง่าย
• ตัวบอดี้เป็นสแตนเลส ไม่ผุกร่อนหรือเกิดสนิม
• สามารถต่อสายสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อเครื่องขัดข้องไปยังห้องควบคุมได้
• มีปุ่มเทสการทำงาน ทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องทำงานได้ปรกติ
• รุ่นครอบคลุมทุกขนาดของปั๊มลม ตั้งแต่กำลังการผลิตลม 40 - 950 M3/min และมี IP 65 protection (Optional)
แผนก Air Compressor
Email : sales.air@pneumax.co.th
โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 640, 643, 644, 661
ติดต่อสอบถาม
To reset your password, enter the email address you use to sign in to form